เมนู

บทว่า ธมฺเม คือในปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม. ก็เมื่อสงสัยใน
ปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า พระไตรปิฎกพุทธพจน์
มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ดังนี้ พระพุทธพจน์นั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.
เมื่อสงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ผลแห่ง
วิปัสสนา ชื่อว่ามรรค ผลของมรรค ชื่อว่าผล ธรรมที่สละคืนสังขารทั้งปวง
ชื่อว่านิพพาน ดังนี้ นิพพานนั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอ ดังนี้.
บทว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่า ชื่อว่าสงฆ์ ผู้ดำเนิน
ตามปฏิปทาเห็นปานนี้ ตามบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้ เป็นชุมนุม
แห่งบุคคล 8 คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล 4 มีอยู่ หรือไม่มี
หนอดังนี้.
เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า อธิสีล-
สิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาดังนี้ สิกขานั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.
บทว่า อยํ ปญฺจโม ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้าง ความเป็น
ขยะ เป็นหลักตอแห่งจิตข้อที่ห้า คือความขัดเคืองในเพื่อนสพรหมจารี.
จบอรรถกถาเจโตขีลสูตรที่ 5

6. วินิพันธสูตร


ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ 5 ประการ


[206] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความ

ระหาย ผู้ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด. . .ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกใจข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด. . . ยังไม่
ปราศจากความทะยานอยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น
เครื่องผูกพันใจข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด. . . ยังไม่
ปราศจากความทะยานอยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด...
ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ 3.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบ
ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่
ภิกษุใด ฉันอาหารจนอิ่มตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ 4.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติ
พรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง

ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใด
หมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพ
องค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ 5
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ 5 ประการนี้แล.
จบวินิพันธสูตรที่ 6

อรรถกถาวินิพันธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวินิพันธสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจตโส วินิพนฺธา ได้แก่ กิเลสชื่อว่า เจตโสวินิพันธะ
เพราะผูกจิตยึดไว้ ดุจทำไว้ในกำมือ. บทว่า กาเม ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม
ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. บทว่า รูเป คือในรูป
ภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถํ ได้แก่ เท่าที่ตนปรารถนา. บทว่า อุทราว-
เทหกํ
ได้แก่ อาหารที่เต็มท้อง อาหารที่เต็มท้องนั้นเรียกกันว่า อุทราวเทหกํ
เพราะบรรจุเต็มท้องนั้น. บทว่า เสยฺยสุขํ ได้แก่ ความสุขโดยการนอน
บนเตียงหรือตั่ง หรือความสุขตามอุตุ [อุณหภูมิ]. บทว่า ปสฺสสุขํ ได้แก่
ความสุขที่เกิดขึ้น เหมือนความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปรอบ ๆ ทั้งข้างขวา
ทั้งข้างซ้าย ฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุขํ คือ ความสุขในการหลับ. บทว่า
อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบขวนขวายอยู่. บทว่า ปณิธาย แปลว่า ปรารถนา
แล้ว. จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าศีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน. การสมาทานคือถือ